วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

แรม RAM

แรม (RAM) คืออะไร มีหน้าที่อย่างไร

แรม (RAM) คืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร ถ้าให้พูดกันลอยๆก็คงคิดกันไปว่า แรม ทำให้คอมเร็วขึ้นยิ่งแรมเยอะคอมเร็วก็ยิ่งเร็ว แต่รู้หรือไม่ว่าหน้าที่จริงๆ ของแรมนั้นคืออะไร

แรม (RAM : Random Access Memory) คือ หน่วยความจำที่ใช้เป็นหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นหน่วยความจำประเภทที่อ่าน/เขียน ข้อมูลลงไปได้ตลอดเวลา แต่ถ้าไฟดับหรือปิดเครื่อง ข้อมูลในหน่วยความจำจะหายหมดทันที

หน่วยความจำจะทำงานร่วมกันกับซีพียู (CPU)อยู่ตลอดเวลา่ แทบทุกจังหวะการทำงานของซีพียู (CPU) จะต้องมีการอ่าน/เขียนข้อมูลไปยังหน่วยความจำเสมอ หรือแม้แต่ในขณะที่เราสั่งย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งก็ต้องใช้หน่วยความเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล

เปรียบเทียบง่ายๆ ก็ประมาณว่า แรมก็คล้ายๆ กับคลังขนส่งที่จะเป็นตัวกลางในการขนส่งสินค้า ในทีนี้ก็คือข้อมูลโดยจะทำงานร่วมกับบริษัทแม่ก็คือ ซีพียู (CPU) ที่เป็นตัวกลางในการรีบคำสั่งงานจากลูกค้าเพื่อมาประมวลผลแล้วส่งผลที่ได้ไปให้แรมนั่นเอง

การ์ดจอ Graphic Card






















การ์ดจอ (Graphic Card) หรือการ์ดแสดงผล เป็นเหมือนสีสันของคอมพิวเตอร์เลยครับ การ์ดจอ (Graphic Card) คือ แผงวงจรที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแสดงผลยังจอภาพ(Monitor) ในปัจจุบันจะมีรูปแบบของหัวต่อหรือสล็อต 2 แบบ คือ AGP (Accelerator Graphic Port)ซึ่งเป็นแบบเก่าตอนนี้ไม่นิยมกันแล้ว อาจจะเลิกผลิตไปแล้วก็ได้ครับที่เห็นๆ อยู่คงจะเป็นมือ 2 ที่ยังหลงเหลืออยู่หรือของที่ค้างสต๊อก และอีกระบบหนึ่งคือ PCI Express x16 ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด


โปรแกรมในปัจจุบันมีความต้องการการคำนวณทางด้านกราฟิคที่สูงมาก อย่างที่รู้ๆ กันคือ เกมส์ ที่เรากันอยู่ในปัจจุบันครับ บรรดาผู้ผลิตต่างก็พัฒนาเกมของตนให้มีภาพกราฟิคที่ละเอียดสมจริง การ์ดจอจึงต้องพัฒนาให้สามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งกราฟฟิคที่สวยงาม ตระกาลตา ปัจจุบันนี้ก็ HD(Hi definition) กันเกือบหมดแล้ว

เมาส์ Mouse



อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับชี้พิกัดบนหน้าจอว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต้องการเลือกทำงานบนตำแหน่งใดๆ      ที่ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์         อุปกรณ์ตัวนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ คอมพิวเตอร์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น (สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ 2549) 
            เมาส์ (mouse) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการใช้งานในคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งออกแบบเพื่อให้พอดีกับการใช้งานโดยส่วนโค้งและส่วนเว้าโค้งเข้าตามกับอุ้งมือของผู้ใช้ โดยภายด้านใต้ของเมาส์จะมีอุปกรณ์ซึ่งตรวจจับการเคลื่อนไหวของเมาส์              โดยส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของเคอร์เซอร์ ( cursor )   บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ เมาส์ได้ชื่อมาจากรูปร่างของตัวมันเอง   และสายไฟ     ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนูและหางหนู และขณะเดียวกันการเคลื่อนที่ของเคอร์เซอร์  (cursor)    บนหน้าจอมีลักษณะการเคลื่อนที่ไม่มีทิศทางเหมือนการเคลื่อนที่ของหนู (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี 2549) 
             เมาส์ (Mouse) หรือ "หนูอิเล็กทรอนิกส์" เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายหนู มีสายต่ออยู่ที่ปลายลักษณะเดียวกับหางหนู เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer) ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด(keyboard) (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 2549

ชีพียู CPU

ซีพียู (CPU)
ซีพียู คืออะไร ?
ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น
CPU ทำหน้าที่อะไร

CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป็น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน 2 ในการคำนวณ ครั้นต่อมาวิทยาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิสเตอร์ก็พัฒนาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ IC และในที่สุดก็พัฒนาเป็น Chip อย่างที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้
สิ่งที่ผู้ผลิตซีพียูพยายามเพิ่มก็คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของซีพียู เมื่อกล่าวถึงซีพียูและการประมวลผล สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือภายในซีพียูไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และซีพียูในยุคแรกๆ ก็ไม่มี Cache ด้วยซ้ำไป ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียูก็คือ ความเร็วในการประมวลผลและความเร็วในการโอนย้ายข้อมูล ซีพียูในยุคแรกๆ นั้นประมวลผลด้วยความเร็ว 4.77 MHz และมีบัสซีพียู (CPU BUS) ความกว้าง 8 บิต เรียกกันว่าซีพียู 8 บิต (Intel 8080 8088) นั้นก็คือซีพียูเคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 1 ไบต์ ยุคต่อมาเป็นซีพียู 16 บิต 32 บิต และ 64 บิต ปัจจุบันโดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ๆ เคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 128 บิต ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมสัญญาณนาฬิกา ซึ่งนับสัญญาณเป็น Clock 1 เช่น ซีพียู 100 MHz หมายความว่าเกิดสัญญาณนาฬิกา 100 ครั้งต่อวินาที 


กลไกการทำงานของซีพียู

การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น




ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียู

ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) คือประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียู ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) โดยทั่วไปจะใช้ซีพียูในตระกูลของอินเทล เช่น Pentium I, Pentium II, Pentium III ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจะใช้ซีพียูที่ต่างกันออกไป
คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

• รีจิสเตอร์
• หน่วยความจำภายนอก
• สัญญาณนาฬิกา เป็นจังหวะ สัญญาณ (Pulse) ในหนึ่งรอบสัญญาณ (Clock Cycle) คอมพิวเตอร์จะคำนวณหนึ่งครั้ง ส่วนความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) (แอนนา 2540: 9)
• บัส
• หน่วยความจำแคช
• Passing Math Operation

ฮาร์ดดิสก์ Harddisk

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) คืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) ถือว่ามีความสำคัญมาก ถ้าหากไม่มีฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ของคุณจะไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากขาดสื่อหลักที่ใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เปรียบเสมือนคลังเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีความจุที่ค่อนข้างสูง ภายในฮาร์ดดิสก์จะมีแผ่นจานเหล็กกลมแบบที่ใช้บันทึกข้อมูลวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ และยึดติดกับมอเตอร์ที่มีความเร็วในการหมุนหลายพันรอบต่อนาทีโดยมีแขนเล็กๆที่ยื่นออดมา ตรงปลายแขนจะมีหัวอ่านซึ่งใช้สำหรับการอ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนจานแม่เหล็ก การอ่านหรือเขียนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์จะใช้หลักการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กที่หัวอ่านขนาดของจานที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.5 นิ้ว ส่วนถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ของโน้ตบุ๊คก็ประมาณ 2.5 นิ้ว

เมนบอร์ด Mainboard

เมนบอร์ด (Mainboard) เป็นโครงสร้างหลักของแผนวงจรหลักภายในคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เช่น ซีพียู แรม ซิปเซ็ต ฮาร์ดดิส ฯลฯ เข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ บนเมนบอร์ดประกอบไปด้วยแผนวงจรและอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มากมาย รวมไปถึงชิ้นส่วนอุปกรณ์ทีสำคัญอย่าง ซิปเซ็ต ถือเป็นหัวใจหลักของระบบที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ด ดังนั้นเพื่อให้เราทราบถึงข้อจำกัดและขีดความสามารถของเมนบอร์ดรุ่นต่างๆ เราจึงจำเป็นต้องมาทำความรู้จักและทำความเข้าใจในเบื้องต้น เกี่ยวกับส่วนประกอบหลักๆ ที่สำคัญอย่างนั้นเสียก่อน โดยรายละเอียดของส่วนประกอบต่างๆ มีดังนี้

AGP Slot (Accelerator Graphic Port)
เป็นสล็อตที่มีไว้สำหรับติดตั้งการ์ดแสดงผล หรือการ์ดจอเท่านั้น สล็อตเอจีพีจะมีสีน้ำตาล ตำแหน่งจะอยู่ด้านบนของสล็อต พีซีไอ และอยู่ใกล้กับตำแหน่งของซ็อคเก็ตที่ติดตั้งซีพียู เหตุผลที่ใช้ติดตั้งเฉพาะการ์ดแสดงผล ก็เนื่องจากระบบบัสแบบ PCI ที่ใช้กันอยู่เดิมนั้น ไม่สามารถตอบสนองการใช้งาน ที่ต้องการความรวดเร็วในการแสดงผลสูงๆ อย่างเช่น เกมสามมิติ โปรแกรมกราฟิกประเภทสามมิติ ออกแบบ บัสแบบเอจีพีหรือสล็อตแบบเอจีพีรุ่นใหม่จะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงขึ้น ซึ่งมีข้อสังเกตๆ ง่ายคือ 2X 4X และล่าสุด 8X ตัวเลขยิ่งสูงมากยิ่งเร็วขึ้น



ATX Power Connector

ขั้วต่อสายไฟจากพาวเวอร์ซัพพลายเข้ากับเมนบอร์ด ซึ่งเป็นขั้วต่อแบบ ATX โดยที่พาวเวอร์ซัพพลาย จะมีสายไฟหนึ่งชุดเอาไว้ต่อเข้ากับเมนบอร์ด และด้านหนึ่งของขั้วต่อจะมีสลักล็อกสายไฟ ป้องกันไม่ให้สายไฟ หลุดจากเมนบอร์ดได้ง่าย

BIOS (Basic Input Output )

เป็น CHIP IC ชนิดหนึ่งที่อยู่บนเมนบอร์ด ภายในจะมีโปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบค้นหาอุปกรณ์ประเภทฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดิสก์ไดร์ฟ ที่ติดตั้งเข้าไป ทุกครั้งที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมที่อยู่ในไบออส จะเริ่มตรวจสอบการทำงานของ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น การทำงานของเมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ แรม การ์ดจอ คีย์บอร์ด ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า Power on Self Test (Post) ในกรณีที่มีอุปกรณ์เสียหรือผิดปกติก็จะรายงานให้ทราบ นอกจากนี้ไบออสยังมีคำสั่งสั่งให้เครื่อง คอมพิวเตอร์บูตเข้าสู่วินโดวส์ หรือระบบปฏิบัติการอื่น ที่ติดตั้งเอาไว้ด้วย ในรูปนี้เป็นไบออสของ AMI ซึ่งไบออสมีหลายยี่ห้อด้วยกัน เช่น AWARD, PHEONIX, COMPAQ, IBM ซึ่งจะมี ความแตกต่างกันบ้างในเรื่องของวิธีการเข้าไปตั้งค่าการทำงานของไบออส รวมทั้งรูปแบบเมนูของไบออส ส่วนเมนบอร์ด ที่ใช้จะมีไบออสยี่ห้อไหน และตำแหน่งติดตั้งอยู่ที่ไหนบนเมนบอร์ดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากคู่มือของเมนบอร์ด
CMOS Battery

แบตเตอรี่เบอร์ CR2032 เป็นแบตเตอรี่ที่จ่ายกระแสไฟให้กับ CMOS เพื่อเก็บข้อมูลในไบออส เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม วันเวลา ถ้าหากแบตเตอรี่หมดอายุจะทำให้ข้อมูลในไบออสหายไป ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามาร ตรวจสอบ ได้ว่ามีฮาร์ดดิสก์ มีซีดีรอมต่อพ่วงอยู่หรือเปล่า ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ แบตเตอรี่จะมีอายุการใช้งานประมาณสองหรือสามปี หากต้องการเปลี่ยนก็หาซื้อได้ตามร้านนาฬิกาหรือร้านถ่ายรูป

CPU Socket
ใช้สำหรับติดตั้งซีพียูเข้ากับเมนบอร์ด เมนบอร์ดที่ใช้กับซีพียูของอินเทลคือ Pentium 4 และ Celeron จะเรียกซ็อคเก็ตว่า SOCKET 478 ส่วนเมนบอร์ดสำหรับซีพียู AMD นั้นจะมีซ็อคเก็ตแบบ SOCKET 462 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า SOCKET A จุดสังเกตว่าเมนบอร์ดเป็นซ็อคเก็ตแบบใดนั้นก็ดูจากชื่อที่พิมพ์ไว้บนซ็อคเก็ต ส่วนความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือรอยมาร์ค ที่มุมของซ็อคเก็ต ถ้าเป็นซ็อคเก็น 478 จะมีรอยมาร์คอยู่ที่มุมหนึ่งด้าน ส่วนซ็อคเก็ต 462 จะมีรอยมาร์คที่มุมสองด้าน โดยรอยมาร์คจะตรงกับตำแหน่งของซีพียู เพื่อให้คุณติดตั้งซีพียูเข้ากับซ็อคเก็ตได้อย่างถูกต้อง


Floppy Disk Connector
คอนเน็คเตอร์สำหรับต่อสายแพเข้ากับ Disk Drive ซึ่งเมนบอร์ดจะมีคอนเน็คเตอร์ไว้ให้หนึ่งช่อง ซึ่งก็เพียงพอต่อการ ใช้งาน เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะติดตั้งดิสก์ไดร์ฟเพียงแค่หนึ่งไดร์ฟเท่านั้น จุดสังเกตก็คือจะมีข้อความว่า FLOPPY หรือเมนบอร์ดบางรุ่นจะเป็นตัวย่อว่า FDD พิมพ์กำกับอยู่ ส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือที่ช่องคอนเน็คเตอร์จะมี Pin หรือเข็มอยู่ 33 อัน โดยด้านหนึ่งจะมีคำว่า PIN 1 พิมพ์กำกับอยู่ด้วย เมื่อต้องการต่อสายแพเข้ากับคอนเน็คเตอร์ จะต้องเอาด้านที่มีสีแดงหรือสีน้ำเงินมาไว้ที่ตำแหน่ง PIN 1


IDE Connector
เป็นคอนเน็คเตอร์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อสายแพกับฮาร์ดดิสก์แบบ IDE รวมถึงอุปกรณ์จำพวกไดร์ฟอ่านเขียนข้อมูล เช่น ซีดีรอม ดีวีดี ซิฟไดร์ฟ โดยเมนบอร์ดจะมีคอนเน็คเตอร์ IDE อยู่สองชุดด้วยกัน เรียกว่า IDE 1 กับ IDE 2 แต่ละคอนเน็คเตอร์ จะรองรับอุปกรณ์ได้สองชิ้น ซึ่งหมายถึงว่าคุณจะต่อฮาร์ดดิสก์รวมทั้งซีดีรอมได้สูงสุดแค่สี่ชิ้น ซึ่งอาจจะเป็นฮาร์ดิสก์ สองตัวกับไดร์ฟ CD-RW และไดร์ฟ DVD อีกอย่างละหนึ่ง เช่นเดียวกันกับ FDD Connector ก็คือจะมีตัวอักษรพิมพ์กำกับว่าด้านใดคือ PIN 1 เพื่อให้ต่อสายแพเข้าไปอย่างถูกต้อง แต่ IDE Connector จะมีจำนวนพินมากกว่าคือ 39 พิน (ในรูปคือที่เห็นเป็นสีแดงกับสีขาว)



PCI Slots (Peripherals component interconnect)
สล็อตพีซีไอ เป็นช่องที่เอาไว้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น ติดตั้งการ์ด SCSI การ์ดเสียง การ์ดเน็ตเวิร์ค โมเด็มแบบ Internal เมนบอร์ดโดยส่วนใหญ่จะมีสล็อตพีซีไอเป็นสีขาวครีม แต่ก็มีเมนบอร์ดรุ่นใหม่บางรุ่นที่เพิ่มสล็อตพีซีไอ โดยใช้สีแตกต่าง เช่น สีน้ำเงิน เพื่อใช้ติดตั้งการ์ดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ สล็อตแบบพีซีไอนั้นถูกออกแบบมาแทนสล็อตแบบ VL ซึ่งทำงานได้ช้า การติดตั้งอุปกรณ์ทำได้ยาก เนื่องจากต้องเซ็ตจัมเปอร์ แต่พีซีไอนั้นจะเป็นระบบ Plug and Play ที่ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่ายกว่า อุปกรณ์บางอย่าง เช่น การ์ดเสียง เมื่อติดตั้งแล้วโอเอส จะรู้จักทันทีหรือเพียงแค่ลงไดรเวอร์เพิ่มเติมเท่านั้น อนึ่งสล็อตแบบพีซีไอนั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า PCI Bus ซึ่งก็หมายถึง เส้นทางที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเมนบอร์ดกับอุปกรณ์ต่อพ่วง โดยบัสแบบจะทำงานในระบบ 32 บิต


RAM Sockets
เป็นช่องที่ใช้สำหรับติดตั้งแรมเข้าไป เมนบอร์ดแต่ละรุ่นจะมีช่องสำหรับติดตั้งแรมไม่เท่ากัน บางรุ่นอาจจะมีแค่สอง บางรุ่นมีสาม บางรุ่นมีสี่ จำนวนช่องถ้ามีเยอะก็จะทำให้คุณเพิ่มแรมได้มากขึ้น ซ็อคเก็ตที่ใช้ติดตั้งแรมยังแบ่งออกไปตามชนิดของแรมด้วย ถ้าเป็นเมนบอร์ดที่ใช้แรมแบบ DDR จะมีรอยมาร์ค อยู่ตรงกลางหนึ่งช่อง ซึ่งจะตรงกับตำแหน่งรอยมาร์คที่แรม



System Panel Connector

สิ่งที่คุณจะสังเกตุเห็นก็คือกลุ่มเข็มที่โผล่ออกมาเหมือนเสาเข็ม สำหรับ System Panel นั้นเป็นจุดที่ใช้ต่อสายสวิทช์ ปิดเปิดเครื่อง (Power Switch) สายไฟปุ่มรีเซ็ท (Reset Switch) ไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ (HDD LED) ลำโพงภายในตัวเครื่อง (Speaker) และสวิทช์ล็อกการทำงานของคีย์บอร์ด (Keyboard Lock) โดยสวิทช์หรือ หลายไฟเหล่านี้จะติดอยู่กับเคสเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าคุณไม่ต่อสายไฟจากเคสเข้ากับ System Panel สวิทช์เปิดเครื่อง หรือไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ก็จะไม่ติด
PS/2 Mouse, PS/2 Keyboard Port
เป็นพอร์ต์ที่ใช้สำหรับต่อสายเม้าส์กับสายคีย์บอร์ดเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเรียกว่าพีเอสทูเม้าส์หรือพีเอสทูคีย์บอร์ด ซึ่งพอร์ตจะมีรูกลมหกรู แล้วก็รูสี่เหลี่ยมหนึ่งรู ซึ่งปลายสายคีย์บอร์ดหรือเม้าส์ก็จะมีเข็มที่ตรงกับตำแหน่งของรูที่พอร์ตด้วย การเสียบสายเม้าส์และคีย์บอร์ดเข้าไป ต้องระวังให้เข็มตรงกับรู สำหรับพอร์ตเม้าส์และคีย์บอร์ดนั้นจะใช้ Color Key แสดงเอาไว้ สีเขียวคือต่อสายเม้าส์ ส่วนสีน้ำเงินต่อสายคีย์บอร์ด นอกจากนี้ยังมีจุดสังเกตุอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อประกอบเมนบอร์ดเข้ากับเคส ที่เคสจะมีสัญลักษณ์รูปเม้าส์กับรูปคีย์บอร์ด ติดอยู่ เพื่อให้ต่อสายเม้าส์และคีย์บอร์ดได้ถูกต้อง

USB Port (Universal Serial Bus)
พอร์ตสำหรับต่อพ่วงกับอุปกรณ์ที่มีพอร์ตแบบยูเอสบี เช่น พรินเตอร์ สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอล ซีดีรอมไดร์ฟ ซิพไดร์ฟ เป็นต้น เมนบอร์ดรุ่นใหม่จะมีพอร์ตยูเอสบีเพิ่มมาอีกเรียกว่าพอร์ต USB 2.0 ซึ่งรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเดิม เมื่อคุณต้องซื้ออุปกรณ์ต่อพ่วง ควรตรวจสอบด้วยว่าอุปกรณ์นั้นเชื่อมต่อกับพอร์ตยูเอสบีรุ่นเก่า หรือว่าต้องใช้ร่วมกับพอร์ต ยูเอสบี 2.0 เพื่อความมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่ซื้อมานั้นจะทำงานได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ
Parallel Port

พอร์ตพาราเรล เป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู 25 รู สำหรับต่อสายพรินเตอร์หรือสแกนเนอร์ที่มีพอร์ตแบบพาราเรล ซึ่งส่วนใหญ่ จะใช้ต่อกับเครื่องพรินเตอร์มากกว่า ซึ่งบางคนจะเรียกว่าพรินเตอร์พอร์ต โดยส่วนใหญ่พอร์ตพาราเรลจะมีกับเครื่อง พรินเตอร์รุ่นเก่า หรือในเครื่องพรินเตอร์ระดับกลางๆ ขึ้นไป




Serial Port
พอร์ตแบบตัวผู้ที่มีขาสัญญาณอยู่ 9 ขา เรียกว่าคอมพอร์ต (COM Port) เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับต่อโมเด็ม เม้าส์ หรือจอยสติ๊ก ปัจจุบันอุปกรณ์ที่ใช้พอร์ตนี้แทบไม่มีให้เห็น เนื่องจากหันไปใช้พอร์ตแบบ USB เป็นส่วนใหญ่

Video Port
พอร์ตสำหรับต่อสายสัญญาณภาพ กับจอคอมพิวเตอร์ ลักษณะของพอร์ตจะเป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู 15 รู สำหรับพอร์ตนี้ จะมีอยู่เฉพาะในเมนบอร์ดรุ่นที่รวมเอาการ์ดแสดงผลเข้าไปกับเมนบอร์ดด้วย (VGA Onboard)



IEEE1394 Port

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า FireWire (บริษัทโซนี่เรียกว่า I-Link) เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วงอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งก็มีในเมนบอร์ดบางรุ่น พอร์ตนี้จะใช้สำหรับต่อพ่วงกับ สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอลระดับไฮเอนด์ กล้องดิจิตอลวิดีโอ ฮาร์ดดิสก์ที่มีพอร์ตแบบ Firewire โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้ต่อกับ กล้องดิจิตอลวิดีโอ เนื่องจากการที่ สามารถควบคุมการทำงานของกล้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง




Line in / Line out / Microphone Jack
สำหรับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ซาวน์ดการ์ดจะถูกรวมเข้าไปกับเมนบอร์ดด้วย ที่เรียกกันว่า Sound on Board จุดสังเกตก็คือที่เมนบอร์ดจะมีช่องสำหรับต่อไมโครโฟน ลำโพง แล้วก็เครื่องเล่นเทป ทำให้ไม่ต้องซื้อซาวน์ดการ์ดเพิ่ม อย่างไรก็ดีถ้าคุณต้องการคุณภาพเสียงที่ดีกว่า หรือต้องการใช้เครื่องคอมกับการทำดนตรี หรืองานตัดต่อวิดีโอ ซาวน์การ์ดแบบติดตั้งเพิ่มก็ยังจำเป็น 

วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560

คีย์บอร์ด Keyboard








คีย์บอร์ดหรือแป้นพิมพ์ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมี เนื่องจากตัวคีย์บอร์ดใช้สำหรับการพิมพ์หรือป้อมข้อมูลต่างลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ ในตัวคีย์บอร์ดจะมีทั้งที่เป็นตัวอักษรที่เป็นภาษาหลักของแต่ละประเทศรวมทั้งภาษาหลักอย่างภาษาอังกฤษอยู่ด้วย และยังมีข้อมูลทั้งตัวเลขและฟังก์ชันต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการใช้งานและอื่นๆ อีก เพื่อใช้สำหรับลงข้อมูลในตัวเครื่องของเรา โดยส่วนใหญ่แล้วคีย์บอร์ดมีลักษณะที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน แต่ในปัจจุบันก็อาจมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ของคนออกแบบนั้นเอง



แรม RAM

แรม (RAM) คืออะไร มีหน้าที่อย่างไร แรม (RAM)  คืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร ถ้าให้พูดกันลอยๆก็คงคิดกันไปว่า แรม ทำให้คอมเร็วขึ้นยิ่งแรมเยอ...