เคสแต่ละแบบจะมีพาวเวอร์ซัพพลายในตัวซึ่งมีกำลังไฟแตกต่างกัน เช่น 200 W, 230 W หรือ 250 W หากเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้มีอุปกรณ์ไม่มาก เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ อย่างละตัว การ์ดจอ การ์ดเสียง ก็เลือกพาวเวอร์ซัพพลาย 230 W เป็นอย่างน้อย กำลังไฟฟ้าไม่พอ จะมีผลทำให้ฮาร์ดดิสก์เสีย ได้เหมือนกัน แต่การเลือกใช้พาวเวอร์ซัพพลายที่มีวัตต์สูงๆ ก็กินไฟมากกว่า จึงต้องพิจารณาให้ดีก่อนเลือกซื้อ
เคสบางแบบก็ถูกออกแบบมาเพื่อซีพียูบางรุ่นโดยเฉพาะ เช่นซีพียูเพนเทียมโฟร์ ไม่เช่นนั้น จะจ่ายไฟไม่พอ อาจทำให้ซีพียูเสียหายได้
ในปัจจุบันได้มีการออกแบบเคสแบบใหม่เรียกว่า ATX เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องบางอย่างของเคส และเมนบอร์ดแบบเก่าหรือแบบ AT ปัจจุบันก็มีผู้นิยมใช้เคสแบบนี้กัน มาก เริ่มมีการนำมาใช้กับ คอมพิวเตอร์เพนเทียมรุ่นหลังๆ ประมาณเพนเทียม 166 ขึ้นไป จนมาถึงปัจจุบัน ในขณะที่แบบ AT มีใช้กันมาตั้งนานนม ปัจจุบันก็ยังใช้ กันอยู่ ราคาถูกกว่าเคสแบบ ATX โดยสรุปก็คือ เราอาจแบ่ง ประเภทของเคสได้เป็น 2 แบบ ATX และ AT ข้อแตกต่างของเคสที่สังเกตง่ายก็คือ ด้านหลังเคส และสาย ต่อไฟเข้า เมนบอร์ดไม่เหมือนกัน เคสแบบ ATX ที่ด้านหลังพอร์ตต่างๆ เช่น พอร์ตเครื่องพิมพ์ เมาส์ Com1 หรือ Com2 จะอยู่ตำแหน่งติดๆ กัน พอร์ตต่างๆ จะอยู่ ในแนวตั้งและมีตำแหน่งเฉพาะ ไม่สามารถถอดเปลี่ยนตำแหน่งได้ แต่เคสแบบ AT ตำแหน่งของพอร์ดเหล่านี้จะอยู่ในแนวนอนและ ขึ้นอยู่กับผู้ติดตั้งว่าจะติดตั้ง ตำแหน่งใด
ส่วนประกอบของเคส
สำหรับเคสโดยปกติที่ซื้อมาใหม่หรือไม่ถูกถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนใดๆ ก็จะมีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้
1. พาวเวอร์ซัพพลายหรือตัวจ่ายไฟ จะถูกติดตั้งมาพร้อมกับเคส
2. สายสัญญาณ Reset, Hdd Led, Power Switch, Power Led และ Speaker
3. น็อตและหมุดพลาสติกสำหรับยึดเมนบอร์ดเข้ากับเคส
4. สายไฟพาวเวอร์ สำหรับต่อไฟเข้าเมนบอร์ดต่อไฟฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรว์ ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น